เมื่อลูกน้อยอยู่ในครรภ์

การพัฒนาการของลูก ระหว่างตั้งครรภ์


ความเปลี่ยนแปลงของคุณลูก เดือนที่ 1
หลังจากที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นจะมีการแบ่งตัวของไข่ที่ผสมแล้วไปเรื่อยๆ และช่วงเวลานี้เองที่นับเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตเล็กๆ ของลูกน้อยที่กำลังก่อกำเนิดขึ้นในบ้านหลังแรกที่อบอุ่นของเขานั่นก็คือ ในครรภ์คุณแม่นั่นเอง ขณะที่มีการแบ่งเซลล์ไข่ก็จะเดินทางไปฝังตัวอยู่ในผนังเยื่อบุมดลูก จากนั้นตัวอ่อนก็จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ระยะนี้เป็นระยะที่มีการสร้างอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญเช่น หัวใจ ระบบประสาท ตา แขน ขา และอวัยวะเพศ ฯลฯ แต่รูปร่างของตัวอ่อนยังดูคล้ายลูกอ๊อดอยู่ในช่วงนี้
อาการและอาหาร ที่จำเป็นสำหรับคุณแม่
เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงทำให้อารมณ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงเดือนแรกนี้เปลี่ยนไป คุณแม่อาจมีอารมณ์แปรปรวนมากขึ้น สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำก็คือ พยายามทำจิตใจให้สบาย อาจจะฟังดนตรีคลาสสิก หรือเดินเล่นในสวนสาธารณะ หลีกเลี่ยงอารมณ์เครียด เพราะจะส่งผลเสียต่อลูกน้อยในครรภ์ นอกจากนั้น คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำผลไม้สด หรือนมวันละ 1 แก้ว ควรบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะโฟเลต และอาหารประเภทปลาทะเล ที่มีกรดไขมันจำเป็น DHA เช่น ปลาทูน่า หรือน้ำมันสกัดจากผลิตภัณฑ์ทางทะเล ที่จะส่งผลดีต่อระบบการทำงานของเซลล์สมองลูกน้อยในครรภ์
ความเปลี่ยนแปลงของคุณลูก เดือนที่ 2
ลูกน้อยในระยะนี้จะเติบโตมากขึ้น มีลักษณะคล้ายคนมากขึ้น ศีรษะจะใหญ่ มีใบหูเป็นตุ่มๆ ยื่นออกมา แขนขาเริ่มยืดออก แต่เปลือกตายังปิดอยู่ จนกว่าจะถึงเดือนที่หก ช่วงนี้หากทำการอัลตราซาวนด์ คุณแม่สามารถเห็นหัวใจของลูกเต้นแล้ว
อาการและอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่
ในช่วงนี้ของการตั้งครรภ์ คุณแม่บางท่านอาจมีอาการแพ้ท้องมากขึ้น คลื่นไส้และอาเจียนบ่อย ซึ่งอาจทำให้สูญเสียน้ำและสารอาหารบางอย่างได้ เป็นผลให้คุณแม่รู้สึกเพลีย วิธีแก้ไขก็คือ คุณแม่ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย ไม่มีกลิ่นคาวหรือมันเกินไป ทั้งยังควรเป็นอาหารที่มีโปรตีนด้วย นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์อาจแบ่งมื้อรับประทานอาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพราะจะไม่ทำให้ท้องว่างเกินไป และอาหารว่างที่ควรรับประทาน ก็คือ ผลไม้สด เนื่องจากมีวิตามินที่ช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นมากขึ้น


ความเปลี่ยนแปลงของคุณลูก เดือนที่ 3
การเจริญเติบโตของอวัยวะส่วนต่างๆ ของลูกน้อยในครรภ์ช่วงนี้ยังเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ลำตัวโตขึ้น แขนขา มีครบแล้ว ปลายนิ้วมีเล็บ อวัยวะเพศภายนอกปรากฏให้เห็น แต่ยังไม่สามารถระบุเพศได้ชัดเจน ในระยะนี้ลูกน้อยสามารถขยับตัวได้แล้ว แต่เป็นการขยับเบาๆ เท่านั้น เพราะลูกยังตัวเล็กอยู่
อาการและอาหาร ที่จำเป็นสำหรับคุณแม่
อาการคลื่นไส้และอาเจียนของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงนี้จะลดลง แต่คุณแม่บางท่านอาจจะเริ่มมีอาการท้องผูกแทน วิธีแก้ไขคือ ควรดื่มน้ำให้มาก หรือดื่มน้ำผลไม้เสริมหลังอาหารทุกมื้อ ทั้งนี้เป็นการช่วยเพิ่มเส้นใยอาหาร เพื่อให้คุณแม่สามารถถ่ายได้ง่ายขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงของคุณลูก เดือนที่ 4
ลูกน้อยเริ่มดูดนิ้วได้ ตัวจะโตมากขึ้น ผิวหนังจะมองเห็นเป็นสีแดงเรื่อๆ มีเส้นเลือดเติบโตทอดไปตามผิวหนังที่บางใส กระดูกและอวัยวะภายในของลูก เริ่มสร้างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว ระยะนี้อวัยวะเพศของลูกน้อยจะแยกกันได้อย่างชัดเจน ว่าเป็นจำปีหรือจำปา แต่หากคุณแม่ต้องการทำอัลตราซาวนด์ เพื่อตรวจดูเพศของลูก ควรรอไปอีกสักประมาณ 3-4 สัปดาห์ ซึ่งช่วงนั้นจะสามารถบอก เพศของลูกได้แน่นอนกว่า
อาการและอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่
ช่วงนี้คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกอึดอัดมากขึ้น เพราะขนาดของมดลูกที่โตขึ้น สามารถคลำได้ชัดเจนทางหน้าท้อง ทั้งนี้เนื่องจากลูกน้อยในครรภ์เจริญเติบโตขึ้นนั่นเอง อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานก็ได้แก่ แคลเซียม โปรตีน และธาตุเหล็ก ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะมีอยู่ในตับ ไข่แดง นม ใบตำลึง ใบขี้เหล็ก ฯลฯ
ความเปลี่ยนแปลงของคุณลูก เดือนที่ 5
ช่วงนี้แขน ขา ศีรษะ และนิ้วของลูกมีการเคลื่อนไหว อวัยวะส่วนต่างๆ มีการทำงานประสานกันได้ดี พัฒนาการการดูดสมบูรณ์เต็มที่ปุ่มรับรสถูกสร้างขึ้นในช่วง 16-20 สัปดาห์ และอวัยวะทั่วร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการสัมผัสเมื่อลูกมีอายุตั้งแต่ 14 สัปดาห์ สมองและระบบประสาทของลูกน้อยยังคงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
อาการและอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่
ช่วงนี้คุณแม่ควรรับประทานสารอาหาร ที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อยในครรภ์ให้เพียงพอ ซึ่งสารอาหารดังกล่าว ได้แก่ โฟเลต สังกะสี และวิตามินบี 12 แหล่งอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารพัฒนาสมองก็เช่น นม ไข่ เนื้อปลา อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ใบเขียว เนื้อสัตว์ เมล็ดทานตะวัน ฯลฯ
เคล็ดไม่ลับ พัฒนาสมองเจ้าตัวน้อย
เนื่องจากช่วงระยะนี้ของการตั้งครรภ์ลูกน้อยของคุณแม่สามารถตอบสนองต่อสัมผัสได้แล้ว คุณแม่สามารถสื่อสารกับลูกน้อยในครรภ์ ด้วยการนวดหน้าท้องให้ต่ำจากใต้สะดือเบาๆ และพูดคุยกับลูกไปด้วย ซึ่งการสัมผัสหน้าท้องของคุณแม่นี้ นอกจากจะช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทราบตำแหน่งของลูกน้อยแล้ว ยังเป็นวิธีกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมองลูกให้แตกกิ่งก้านสาขาออกไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นด้วย
ความเปลี่ยนแปลงของคุณลูก เดือนที่ 6
ลำตัวของลูกน้อยในครรภ์ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ต่อมไขมันใต้ผิวหนังของลูกเริ่มทำงาน ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นขึ้น ลูกน้อยสามารถลืมตาได้ดีขึ้น และมองเห็นได้แล้ว หากใช้หูฟังธรรมดาตรวจฟังเสียงหัวใจของลูกน้อยในครรภ์จากหน้าท้องคุณแม่ก็จะสามารถได้ยินเสียงหัวใจของลูกเต้นชัดเจนขึ้น ในระยะนี้ลูกน้อยจะเริ่มได้ยินและตอบสนองต่อเสียงของคุณแม่ได้แล้วด้วย
อาการและอาหาร ที่จำเป็นสำหรับคุณแม่
คุณแม่ตั้งครรภ์บางท่านอาจมีเหงื่อออกมาก หรือรู้สึกแสบร้อนในอก รวมทั้งอาจเป็นตะคริวบ่อยครั้งในช่วงระยะนี้ วิธีแก้ไขก็คือดื่มน้ำให้มาก รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ไข่ นม ถั่วลิสง หรือเครื่องในสัตว์ ก็จะช่วยลดอาการตะคริวในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้
เคล็ดไม่ลับ พัฒนาสมองเจ้าตัวน้อย
การพัฒนาสมองของลูกน้อยในครรภ์ช่วงนี้ สามารถทำได้โดยคุณแม่อาจจะร้องเพลงกล่อมให้ลูกน้อยในครรภ์ฟัง ทั้งนี้ไม่จำเป็นที่คุณแม่จะต้องเป็นนักร้องเสียงทอง ถึงจะสามารถร้องเพลงกล่อมให้ลูกรักในครรภ์ฟังได้เท่านั้น เพราะสิ่งสำคัญไม่ใช่อยู่ที่เสียงดีหรือไม่ หากแต่อยู่ที่ขณะคุณแม่ขับร้องเพลงกล่อมให้ลูกรักในครรภ์ฟัง อารมณ์ของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์จะประสานเป็นหนึ่งเดียวกันจนเกิดความความสงบขึ้นในจิตใจ ลูกน้อยในครรภ์เองก็จะรู้สึกอบอุ่นมีความสุข ขณะเดียวกันก็จะคุ้นเคย และสามารถจดจำเสียงคุณแม่ได้มากขึ้นด้วย อาการและอาหาร ที่จำเป็นสำหรับคุณแม่
ระยะนี้คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดมากขึ้น เนื่องจากขนาดของมดลูกที่โตขึ้นมาก มีการหดตัวของมดลูกเป็นพักๆ บ่อยขึ้น ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะต้องการพลังงานจากสารอาหารมากขึ้นจากเดิมอีกราวๆ 200 แคลอรีต่อวัน คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนสูง เช่น นม ไข่ เนื้อปลา ปลาเล็กปลาน้อย ผัก และผลไม้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสะสมสารอาหารที่จำเป็นไว้สำหรับเตรียมให้น้ำนมกับลูกหลังคลอดนั่นเอง
เคล็ดไม่ลับ พัฒนาสมองเจ้าตัวน้อย
ระยะนี้ของการตั้งครรภ์คุณแม่อาจจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยในครรภ์ได้ด้วยการอ่านนิทานสนุกๆ ให้เขาฟัง ทั้งนี้คุณพ่ออาจเข้ามามีส่วนร่วมกับคุณแม่ในการอ่านนิทานให้ลูกน้อยในครรภ์ฟัง ซึ่งนิทานที่ว่านี้ คุณพ่อคุณแม่อาจแต่งขึ้นมาใหม่เอง จากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มสีสันของเรื่องให้สนุกมากขึ้น โดยระหว่างที่เล่านิทานก็อาจมีการซักถาความคิดเห็น หรือหยอกเย้ากันเอง ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งก็จะช่วยสร้างบรรยากาศของการเล่านิทานให้สนุกสนานมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังส่งผลดีต่อพัฒนาการทางสติปัญญา และอารมณ์ของลูกน้อยในครรภ์ด้วย
ความเปลี่ยนแปลงของคุณลูก เดือนที่ 9
อวัยวะทุกส่วนของลูกน้อยในครรภ์ช่วงนี้สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ไข่ที่หุ้มตัวลูกจะน้อยลง ลูกน้อยของคุณแม่จะเริ่มกลับเอาศีรษะลงทางช่องคลอดของคุณแม่ อันเป็นสัญญาณในการเตรียมความพร้อมที่จะออกมาสู่โลกกว้างให้คุณแม่ได้ชื่นใจในไม่ช้า ระยะนี้ร่างกายของลูกน้อยในครรภ์จะสะสมสารอาหารเอาไว้ และมีไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น
อาการและอาหาร ที่จำเป็นสำหรับคุณแม่
คุณแม่จะอุ้ยอ้ายและเดินลำบากมากในระยะนี้ เพราะศีรษะของลูกน้อยจะเข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกราน ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นแคลเซียม เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมให้เพียงพอหลังคลอด และควรรับประทานธาตุเหล็ก จากเนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม ไข่ ถั่ว เมล็ดแห้ง งา ฯลฯ ให้มากขึ้นด้วย เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตที่จะต้องสูญเสียในขณะคลอด ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้คุณแม่เป็นโรคโลหิตจางภายหลังจากที่คลอดแล้วด้วย
เคล็ดไม่ลับ พัฒนาสมองเจ้าตัวน้อย
ในระยะนี้คุณแม่อาจจะใช้สัมผัสรักสื่อสารกับลูกน้อยในครรภ์ผสมผสานกัน ระหว่างการนวดสัมผัสหน้าท้องเบาๆ ขณะเดียวกันก็พูดคุยหยอกล้อกับลูกไปด้วย วิธีนี้จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ให้แนบแน่นขึ้น เพราะลูกน้อยในครรภ์จะฟังอย่างสงบ และรู้สึกมีความสุข ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อวงจรการทำงานของสมองลูกน้อย
ที่มา : Enfababy.com

No comments:

Post a Comment